-
-
การพ้นสภาพนิสิต
-
-
มี G.P.A. ต่ำกว่า 1.50 ยกเว้นนิสิตใหม่ที่เข้าศึกษาเป็นภาคแรก
-
-
-
มี G.P.A. ต่ำกว่า 1.75 เป็นเวลาสองภาคการศึกษาปกติติดต่อกัน
(ยกเว้นภาคการศึกษาภาคแรกของนิสิตใหม่)
-
-
-
ดำรงสถานภาพนิสิตครบสองเท่าของจำนวนปีการศึกษากำหนดไว้ในหลักสูตร
แต่ไม่อยู่ในข่ายที่จะจบการศึกษาได้
-
-
-
ไม่ลงทะเบียนเรียนให้เสร็จสิ้นภายในสามสัปดาห์
นับแต่วันเปิดการศึกษา
-
-
-
ไม่ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อรักษาสถานภาพนิสิต
ภายใน 15 วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียน
-
-
-
พักการศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตตามระเบียบข้อบังคับ
รางวัลการเรียนดี
-
นิสิตจะมีสิทธิได้รับการเรียนดี
เมื่อมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมเฉพาะปีการศึกษานั้น
3.50 รายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนต้องไม่เป็นรายวิชาที่เรียนซ้ำ
เพราะสอบตกหรือเรียนซ้ำรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับหน่วยกิต
(Audit) มาก่อนแล้ว นิสิตปีสุดท้ายของแต่ละหลักสูตรไม่อยู่ในข่ายของการได้รับรางวัลเรียนดี
เกียรตินิยม
-
คุณสมบัติด้านการศึกษาของนิสิตที่จะได้รับปริญญาเกียรตินิยม
-
-
-
ไม่เคยสอบตกในรายวิชาใดตลอดหลักสูตร
-
-
-
ไม่เคยเรียนซ้ำรายวิชาใดเพื่อเปลี่ยนแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
(regrade)
-
-
-
ไม่เคยเรียนซ้ำเพื่อนับหน่วยกิตในรายวิชาที่เคยลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับ
หน่วยกิตมาก่อน
-
-
-
ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.5 ขึ้นไป สำหรับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
และ 3.25 ขึ้นไปสำหรับเกียรตินิยมอันดับสอง
-
-
-
เรียนจบภายในกำหนดเวลาจำนวนปีที่ระบุไว้ในหลักสูตร
-
ต้องไม่เป็นนิสิตที่ได้รับเทียบรายวิชา
ยกเว้นเป็นรายวิชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และมิใช่การเทียบโดยอาศัยการสอบคัดเลือกเข้ามาใหม่หรือการได้รับเลือกเข้ามาใหม่
หรือการได้รับคัดเลือกเข้าศึกษา บัณฑิตที่ได้รับปริญญาเกียรตินิยม
มีสิทธิประดับเครื่องหมายเกียรตินิยม
การเรียนภาษาอังกฤษ
-
ทุกหลักสูตรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ระบุให้เรียนภาษาอังกฤษ
จะกำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษอย่างน้อย 9 หน่วยกิต
ทั้งนี้ไม่นับรวมวิชา 355111 3 หน่วยกิต ซึ่งเป็นพื้นฐานวิชาแรกในการเรียนภาษาอังกฤษจะเป็นการเรียนโดยไม่ได้หน่วยกิต
ผลการเรียนจะระบุเป็นผ่าน (PASS) หรือไม่ผ่าน
(NOT PASS)
-
นิสิตที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นไป จะต้องถูกวัดความรู้ภาษาอังกฤษ
โดยใช้คะแนนจากการสอบคัดเลือกวิชาภาษาอังกฤษ
หรือจาก การทดสอบโดยคณะมนุษยศาสตร์
การขอรับและอนุมัติปริญญา
-
นิสิตจะขอรับปริญญาได้เมื่อ
-
-
เรียนครบตามหลักสูตรของสาขาวิชา และมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า
2.00 แต่ถ้าไม่ถึง 2.00 มีสิทธิขอรับอนุปริญญาได้
-
-
ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอรับปริญญาหรืออนุปริญญาภายใน
30 วัน นับจากวันเปิดเรียนของภาคการศึกษาสุดท้ายที่นิสิตคาดว่าจะสอบได้หน่วยกิตครบถ้วนตามหลักสูตร
โดยคณบดีจะเป็นผู้พิจารณาเสนอชื่อผู้สมควรได้รับปริญญาหรืออนุปริญญา
-
-
นิสิตไม่มีหนี้สินต่อภาควิชา คณะ หรือมหาวิทยาลัย
-
-
นิสิตเป็นผู้มีความประพฤติที่ไม่ชัดต่อระเบียบของมหาวิทยาลัย
และ
-
-
สภามหาวิทยาลัยจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติปริญญาหรืออนุปริญญา
-
-
พิธีประสาทปริญญาจะมีปีละ 1 ครั้ง
-
โดยปกติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะมีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในเดือนกรกฎาคมของทุกปี
การเรียนโดยไม่นับหน่วยกิต
(AUDIT)
-
-
ใช้ระเบียบการลงทะเบียนและการเรียนตามปกติ
-
-
วิชาที่มีปฏิบัติการ (Lab) จะทำหรือไม่ ขึ้นกับอาจารย์ประจำวิชา
-
-
ไม่นับหน่วยกิตรวมในหลักสูตร
-
-
ต้องใส่คำว่า "Audit" ไว้ในช่องประเภทการลงทะเบียน
-
-
ไม่ถือเป็นรายวิชาบังคับก่อน (Prerequisite)
-
-
ผลการศึกษาเป็น S หรือ U
การเรียนซ้ำเพื่อยกระดับคะแนน
(REGRADE)
-
-
ต้องเป็นรายวิชาที่ได้แต้มคะแนนต่ำกว่า 2.00
(ได้เกรดต่ำกว่า C)
-
-
การคิดแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสม ต้องคิดทั้งคะแนนเดิมและคะแนนใหม่
-
-
ในภาคการศึกษาที่จะขอเรียนซ้ำนั้น นิสินต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาอื่น
ๆ ในหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต ยกเว้นในกรณีที่จะจบการศึกษา
-
-
ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาทุกรายวิชา
ระเบียบการเรียน
-
-
ต้องเรียนติดต่อกันทุกภาคการศึกษาปกติ ยกเว้นได้รับการอนุมัติให้ลาพัก
การศึกษาชั่วคราวจากคณบดี
-
-
ต้องสอบไล่ได้ทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไว้
ถ้าสอบตกรายวิชาเลือกเสรี อาจจะเลือกรายวิชาอื่นทดแทนได้โดยได้รับอนุมัติจากคณบดี
-
-
ต้องเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 4 ภาคการศึกษาปกติ
และใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 2 เท่า ของจำนวนปีการศึกษาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
ต้องสอบไล่ได้ครบรายวิชาและหน่วยกิตในหลักสูตรและได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า
2.00 จึงจะมีสิทธิ์ขอรับปริญญาตรี และต้องได้ไม่ต่ำกว่า
3.00 จึงจะมีสิทธิ์ขอรับปริญญาโทหรือปริญญาเอก
-
-
ถ้าเรียนตกวิชาบังคับก่อน (prerequisite) จะลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่อเนื่องได้เมื่อลงรายวิชาบังคับก่อนที่สอบตกนั้นควบคู่กับรายวิชาต่อเนื่อง
และถ้าสอบตกรายวิชาบังคับก่อน การลงทะเบียนรายวิชาบังคับต่อเนื่องจะถือเป็นโมฆะ
-
-
ถ้าขาดเรียนวิชาใดโดยไม่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละ
20 ของเวลาเรียนทั้งหมด จะหมดสิทธิ์เข้าสอบไล่
และถือว่าสอบตกวิชานั้น
ระเบียบการสอบ
-
-
การสอบทุกครั้งนิสิตต้องเข้าสอบตามวันเวลาและสถานที่ที่อาจารย์ประจำวิชากำหนดไว้
-
-
ถ้านิสิตไม่สามารถเข้าได้ด้วยเหตุจำเป็น ต้องยื่นคำร้องผ่านอาจารย์ประจำวิชา
ภายในเจ็ดวัน และจะต้องสอบให้เสร็จภายในเวลาสามสิบวันนับจากวันที่ไม่ได้เข้าสอบ
ทั้งนี้นิสิตต้องชำระค่าธรรมเนียมการสอบชดเชยหน่วยกิตละ
20 บาท
-
-
การสอบทุกครั้งนิสิตต้องใช้กระดาษสอบที่อาจารย์ประจำวิชาจัดให้
และจะนำ กระดาษข้อสอบออกจากห้องสอบมิได้
-
-
นิสิตต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบจากคำชี้แจงของอาจารย์ผู้ควบคุมการสอบ
การทำการทุจริต หรือส่อทุจริตในการสอบด้วยวิธีใดก็ตาม
ถือว่าสอบตกในรายวิชานั้น
-
-
การส่อทุจริตในการสอบ เช่น การไม่ปฏิบัติตามระเบียบการสอบ
หรือคำชี้แจงของอาจารย์ผู้ควบคุมการสอบ นำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอบเข้าไปในห้องสอบจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตามระดับโทษ
คือพักการศึกษา 1 ภาคการศึกษา
-
-
การทำการทุจริตในการสอบ เช่น นำเอกสารทุกชนิดเกี่ยวกับวิชาที่สอบไปใช้
คัดลอกในการสอบ คัดลอกคำตอบผู้อื่น ให้ผู้อื่นคัดลอกคำตอบของตน
เข้าสอบแทนกัน ระดับโทษ คือ พักการศึกษา 1 ปีการศึกษา
ผู้ที่กระทำผิดเป็นครั้งที่ 2 มีโทษสถานเดียวคือให้ออก
การยกเว้นค่าหน่วยกิต
-
1.
สอบได้ 5A ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต นิสิตที่สอบได้ระดับคะแนน
A อย่างน้อย 5 รายวิชา และมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า
12 หน่วยกิต จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตในภาคการศึกษาปกติ
ภาคถัดไป (ภาคฤดูร้อนไม่ยกเว้นให้) โดยนิสิตต้องขอตรวจสอบและประทับตรา
"ยกเว้นค่าหน่วยกิต" ในบัตรลงทะเบียนเรียน (KU1)
ก่อนจะชำระเงินค่าธรรมเนียม
-
2.
นิสิตที่มีคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการเสริมสร้างค่านิยมที่ดีของนิสิต
ตามข้อ 5 ของระเบียบว่าด้วยการเสริมสร้างค่านิยมที่ดีของนิสิต
พ.ศ. 2537 นิสิตซึ่งมีคุณสมบัติหรือได้แสดงความสามารถดีเด่นในด้านต่าง
ๆ จะได้รับการประกาศเกียรติคุณ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา
หรือได้รับรางวัลอื่นตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ทั้งนี้จะมีคณะกรรมการประเมินผลการคัดเลือกนิสิต
ซึ่งแต่งตั้งโดยอธิการบดีเพื่อพิจารณาคุณสมบัติและความสามารถในด้านต่าง
ๆ ดังนี้
1.
การเรียน
2. ผลงานความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
3. กิจกรรมนอกหลักสูตร
4. กีฬา
5. ความประพฤติ
|
การลา
-
การลามี
3 ประเภท คือการลาป่วยหรือลากิจ การลาพักการศึกษา
และการลาออก
-
1.
การลาป่วยหรือลากิจ
-
-
-
ให้ยื่นใบลาต่ออาจารย์ที่ปรึกษาทุกครั้ง
-
-
-
การลาป่วยติดต่อกันเกิน 15 วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์แนบมาด้วย
และ การลาที่ติดต่อกันเกิน 15 วัน ต้องมีใบหนังสือรับรองของผู้ปกครองแนบมาด้วยทุกครั้ง
-
-
-
อาจารย์ที่ปรึกษาอนุญาตให้ลาได้ครั้งละไม่เกิน
3 วัน หัวหน้าภาควิชาอนุญาต
-
-
ให้ลาได้ไม่เกิน
7 วัน นอกเหนือจากนี้เป็นอำนาจของคณบดี
-
-
-
เมื่อได้รับอนุญาตให้ลาแล้ว นิสิตต้องนำหลักฐานไปแสดงต่อสำนักทะเบียนและประมวลผล
เพื่อแจ้งอาจารย์ประจำวิชาต่อไป
-
2.
การลาพักการศึกษา
-
-
นิสิตจะขอลาพักการศึกษาได้เมื่อ
-
1.
ถูกเกณฑ์หรือระดมเข้ารับราชการทหาร
-
2.
ได้รับทุนแลกเปลี่ยนนิสิตระหว่างประเทศ หรือทุนอื่นใดที่มหาวิทยาลัยเห็นควรสนับสนุน
-
3.
ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย จนไม่สามารถศึกษาต่อได้
-
ให้ยื่นใบลาพร้อมด้วยหลักฐาน และคำรับรองของผู้ปกครองเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเสนอขอนุญาตต่อคณบดีต่อไป
- ขอลาพักได้ครั้งละไม่เกิน 2 ภาคการศึกษาปกติ
- นิสิตที่ลาพักตามข้อ 2 และ 3 ต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อรักษาสถานภาพการเป็นนิสิต
- เมื่อจะกลับเข้าศึกษาจะต้องยื่นคำร้องต่อสำนักทะเบียนและประมวลผลภายใน
2 สัปดาห์ก่อนวันเปิดภาคเรียน
|
-
3.
การลาออก
-
-
ต้องยื่นใบลาพร้อมหนังสือรับรองของผู้ปกครอง
และใบปลอดหนี้ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อเสนอคณบดีอนุมัติต่อไป
-
เธซเธกเธฒเธขเน€เธซเธ•เธธ
เมื่อนิสิตไม่ต้องการเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกต่อไป
ควรมายื่นใบลาออก ให้ถูกต้องเพื่อจะได้ไม่มีชื่อถูกคัดออกจากมหาวิทยาลัย
วินัยนิสิต
-
- - นิสิตต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัยโดยเคร่งครัด
-
- - นิสิตต้องปฏิบัติตามหลักศีลธรรม
และวัฒนธรรมของสังคมไทยในทุกโอกาส
-
- - นิสิตต้องละเว้นการประพฤติใด
ๆ ที่นำมาหรืออาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่ตนเองและมหาวิทยาลัย
-
- - นิสิตต้องรักษาความสามัคคีในหมู่คณะ
-
- - นิสิตจะต้องไม่เสพสุราหรือสิ่งเสพติดใด
ๆ จนครองสติไม่อยู่ และเป็นสาเหตุให้เสื่อมเสียแก่ตนเอง
ผู้ปกครองและมหาวิทยาลัย
-
- - นิสิตไม่พกอาวุธ
หรือระเบิดเมื่ออยู่ในมหาวิทยาลัย
-
- - นิสิตไม่ก่อเรื่องวิวาทกับผู้ใดทั้งภายนอกและในมหาวิทยาลัย
-
- - นิสิตไม่เล่นการพนันทุกประเภทในมหาวิทยาลัย
-
- - นิสิตไม่จัดสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นใด
ๆ อันอาจจะกระทบกระเทือนผู้อื่น ออกเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัย
-
- - นิสิตไม่จัดการประชุมหรือการชุมนุมใด
ๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจาก รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต
-
- - นิสิตไม่ทำลายทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
-
- - นิสิตไม่มีสิ่งของผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง
-
- - นิสิตไม่ประพฤติตนเป็นอันธพาล
-
- - นิสิตต้องแสดงบัตรประจำตัวนิสิตได้ทันทีเมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ
-
- - นิสิตต้องแจ้งให้มหาวิทยาลัยทราบทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสำมะโนครัวหรือ
ที่พักอาศัย
การลงโทษทางวินัย
-
- การลงโทษนิสิตที่กระทำผิดทางวินัยมี
9 สถาน
-
- 1. ตักเตือน
-
- 2. ภาคทัฑ์หรือทำทัณฑ์บน
-
- 3. ให้ชดใช้ค่าเสียหาย
-
- 4. ให้พักการศึกษาตั้งแต่
1 ภาคถึง 3 ปีการศึกษา
-
- 5. ระงับการให้ปริญญาและอนุปริญญาไม่เกิน
3 ปีการศึกษา
-
- 6. ระงับการออกใบแสดงผลการศึกษาและใบรับรองใด
ๆ ไม่เกิน 3 ปีการศึกษา
-
- 7. ระงับการออกปริญญาบัตรไม่เกิน
3 ปีการศึกษา
-
- 8. ให้ออกในใบแสดงผลการศึกษาว่าถูกให้ออกจากการศึกษาหรือ
"dismissed"
-
- 9. ไล่ออกโดยระบุในใบแสดงผลการศึกษาว่าไล่ออกหรือ
"dishonorably expelled"